TOP

21.3 วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจ

          นอกจากจะสามารถใช้วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ในการวัดปริมาณทางกายภาพแล้ว ยังใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ ตัวอย่างเช่น การที่ไฟฟ้าสว่างตามถนนทำงานเมื่อแสงอาทิตย์ตกเป็นเพราะปริมาณแสงจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบที่ LDR มีค่าลดลง ถึงระดับที่ตั้งไว้สวิตซ์จะเปิดให้ไฟแสงสว่างทำงาน
          เพื่อให้การวิเคราะห์และตัดสินใจของวงจรไฟฟ้าทำงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น จึงได้มีการออกแบบวัสดุอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มหนึ่งไว้สำหรับทำหน้าที่ตัดสินใจทางตรรกะ คือ พวก LOGIC gate ต่างๆ เริ่มแรกจะศึกษาวงจรตรรกะแบบ NOT ซึ่งใช้ IC เบอร์ 7404 เป็นต้นแบบ

กิจกรรมที่ 21.5 วงจรตรรกะแบบ NOT

รูป 1 รูปแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าและสัญลักษณ์ของตรรกะ NOT

คำอธิบายการต่อวงจร

          IC กลุ่ม 74 นี้จะทำงานที่ความต่างศักย์ไฟฟ้า 5 โวลต์เท่านั้น และสถานะตรรกะ (logic) จะมีเพียง 2 สถานะ คือ ต่ำ (low) กับ สูง (high) หรือ 0 กับ 1
          โดยที่ 0 คือ สถานะที่ศักย์ไฟฟ้าเท่ากับศูนย์เมื่อเทียบกับดิน GND (Ground) และ 1 คือ สถานะที่ศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ 5 V เมื่อเทียบกับดิน GND
คำอธิบายการทำงานของวงจร
          IC 7404 เป็น IC ประเภทอินเวอร์เตอร์ (inverter) นั่นคือผลลัพธ์ที่ได้จาก IC ตัวนี้จะตรงข้ามกับ input เราสามารถเขียนความสัมพันธ์ตรรกะได้ดังนี้

ขา 1 (in) ขา 2 (out)
0 1
1 0
A B
0 1
1 0

จากตารางตรรกะดังกล่าว IC 7404 จะทำหน้าที่เท่ากับตรรกะ NOT

 

กิจกรรมที่ 21.6 วงจรตรรกะแบบ AND

รูป 2 รูปแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าและสัญลักษณ์ของตรรกะ AND

คำอธิบายการทำงานของวงจร
          IC 7408 เป็น IC ประเภท AND นั่นคือผลลัพธ์ที่ได้จาก IC ตัวนี้ จะเป็นไปตามความสัมพันธ์ตรรกะดังนี้ (โดยที่ขา 1 และ 2 เป็น input ส่วนขา 3 เป็นผลลัพธ์หรือ output)

ขา 1 (in 1) ขา 2 (in 2) ขา 3 (out)
0 0 0
0 1 0
1 0 0
1 1 1
INPUT (A) INPUT (B) OUTPUT (C)
0 0 0
0 1 0
1 0 0
1 1 1

จากตารางตรรกะดังกล่าว IC 7408 จะทำหน้าที่เท่ากับตรรกะ AND < /font>

 

กิจกรรมที่ 21.7 วงจรตรรกะแบบ OR

รูป 3 รูปแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าและสัญลักษณ์ของตรรกะ OR

คำอธิบายการทำงานของวงจร
          IC 7432 เป็น IC ประเภท OR นั่นคือผลลัพธ์ที่ได้จาก IC ตัวนี้ จะเป็นไปตามความสัมพันธ์ตรรกะดังนี้ (โดยที่ขา 1 และ 2 เป็น input ส่วนขาที่ 3 เป็นผลลัพธ์หรือ output)

ขา 1 (in 1) ขา 2 (in 2) ขา 3 (out)
0 0 0
0 1 1
1 0 1
1 1 1
INPUT (A) INPUT (B) OUTPUT (C)
0 0 0
0 1 1
1 0 1
1 1 1

จากตารางตรรกะดังกล่าว IC 7432 จะทำหน้าที่เท่ากับตรรกะ OR

รูป 4 แสดงสัญลักษณ์ LOGIC gate แบบต่างๆ

          ในการใช้ IC กลุ่มวิเคราะห์และตัดสินใจนั้น ยังมีตรรกะต่างๆ อีกมากมาย เช่น NAND NOR ฯลฯ
ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษาต่อได้ในวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เพราะวงจรตรรกะเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำงานของคอมพิวเตอร์

ที่มาข้อมูล : หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ฟิสิกส์ เล่ม 3

Leave a Reply

Your email is never published nor shared.

You may use these HTML tags and attributes:<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>