TOP

1.7 การบันทึกข้อมูล

การบันทึกข้อมูลที่จะให้กะทัดรัด ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย ขึ้นกับข้อมูลที่สำคัญสำหรับ การทดลองนั้นๆ หากเป็นไปได้หรือเหมาะสม มักจะนำเสนอในรูปของตารางซึ่งมีหัวของช่อง ชัดเจน ว่าเป็นปริมาณอะไร ในหน่วยอะไร ในบางปริมาณที่ต้องการความแน่นอนที่เชื่อถือได้ ควรวัด 3 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย ซึ่งการทำหลายๆ ครั้งอาจใช้เครื่องคิดเลขบางแบบ คำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ได้ด้วย ควรเริ่มด้วยช่องสดมภ์ (column) ที่เป็นตัวแปร ต้นที่จะวัดโดยตรง ตามด้วยตัวแปรตามีที่วัดได้โดยตรง ซึ่งสามารถบันทึกตัวลงไปทันทีที่วัดได้ แล้วจึงเพิ่มช่องต่อๆ ไปที่หาได้จากช่องแรกๆ จนได้ช่องของปริมาณที่จะใช้ในการวิเคราะห์ โดยเฉพาะที่จะใช้เขียนกราฟ นอกจากส่วนที่ทำการวัดที่สำคัญ ข้อมูลของการทดลองควรมีข้อมูลประกอบิ ซึ่งบาง ครั้งมีความหมายหรือมีความเกี่ยวข้องต่อผลการทดลองด้วย เช่น ทำการทดลองเมื่อใด สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เช่น อุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ฯลฯ

Leave a Reply

Your email is never published nor shared.

You may use these HTML tags and attributes:<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>