เราทราบว่าถ้าปล่อยวัตถุมวล m ให้ตกอย่างเสรีบริเวณผิวโลก มันจะตกด้วยความเร่งคงที่ (g = 9.81 เมตรต่อวินาที2 ) โดยไม่คิดแรงต้านทานของอากาศ เมื่อมวลที่ตกมีความเร่งจึงต้องเกิดแรงลัพธ์ตามกฎข้อสองของนิวตัน และมีค่า เรานิยามน้ำหนักว่า
แรงที่โลกดึงดูดวัตถุ ดังนั้นขณะที่วัตถุตกอย่างเสรีซึ่งมีแรง กระทำ เราดึงแล้วปล่อย คือแรงที่โลกดึงดูดวัตถุมวล m ถ้า เป็นน้ำหนักของวัตถุมวล m ก้อนนี้ เราจะได้
ดังนั้นน้ำหนักของวัตถุจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเหมือนแรงคือ นิวตัน น้ำหนักของวัตถุก้อนเดียวกันอาจเปลี่ยนไปถ้า เปลี่ยนไป เช่น มนุษย์อากาศเมื่ออยู่บนพื้นโลกอาจมีน้ำหนัก 700 นิวตัน แต่เมื่ออยู่ในยานกระสวยอากาศที่โคจรรอบโลกอยู่สูงจากผิวโลกมากจนค่า ใกล้เคียงศูนย์ มนุษย์อากาศคนนี้จะอยู่ในสภาพที่น้ำหนักเป็นศูนย์หรือไร้น้ำหนัก ดังภาพ
ค่าความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ และดวงจันทร์
ค่าความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ โดยคิดเทียบกับค่าความเร่งเนื่องจาก
แรงดึงดูดของโลก ซึ่งมีค่าเท่ากับ 9.81 เมตรต่อวินาที2
ดาวพุธ | 0.378 |
ดาวศุกร์ | 0.907 |
โลก | 1 |
ดวงจันทร์ | 0.165 |
ดาวอังคาร | 0.377 |
ดาวพฤหัสบดี | 2.364 |
ดาวเสาร์ | 1.064 |
ดาวยูเรนัส | 0.889 |
ดาวเนปจูน | 1.125 |